ปัจจัยที่ศึกษา

pH
pH ของดินเป็นค่าที่บ่งชี้ความเป็นกรดหรือด่างของดิน ค่า pH เป็นหน่วยวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน เนื่องจากความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนแตกต่างกันไปในช่วงกว้าง จึงใช้มาตราส่วนลอการิทึม (pH) สำหรับ pH ลดลง 1 ความเป็นกรดจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า ในดินที่เป็นกรดมากมีค่า pH ต่ำและความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนสูง ดังนั้นที่ค่า pH สูง (ด่าง) ความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนจึงต่ำดินส่วนใหญ่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 3.5 ถึง 10 ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก ค่า pH ตามธรรมชาติของดินมักจะอยู่ระหว่าง 5 ถึง 7 ในขณะที่ในพื้นที่แห้งจะมีช่วงอยู่ที่ 6.5 ถึง 9

ดินสามารถจำแนกได้ตามค่า pH:
6.5 ถึง 7.5 เป็นกลาง
มากกว่า 7.5 เป็นด่าง
น้อยกว่า 6.5 เป็นกรด
น้อยกว่า 5.5 เป็นกรดอย่างแรง
น้อยกว่า 4 ดินกรดซัลเฟต
Chlorophyll a (mg/g)
chlorophyll a มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ มีสีเขียวแกมน้ำเงิน จัดเป็น primary pigment ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสงโดยตรง ช่วงการดูดกลืนแสงที่ 420 นาโนเมตร และ 660 นาโนเมตร พบได้ในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่มีการสังเคราะห์แสงได้
Chlorophyll b (mg/g)
chlorophyll b มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ มีสีเขียวแกมเหลือง ช่วงการดูดกลืนแสงที่ 435 นาโนเมตร และ 643 นาโนเมตร ส่วนมากพบได้ทั่วไปในพืชชั้นสูงทุกชนิด และสาหร่ายสีเขียว (green algae)
Chlorophyll c (mg/g)
chlorophyll c พบได้ในพวกสาหร่ายสีน้ำตาล (brown algae) และสาหร่ายสีทอง (golden algae) แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
Pheophytin (mg/g)
คือ chlorophyll a ที่ไม่มี Mg 2+ ทำหน้าที่เป็นตัวพาอิเล็กตรอน ตัวแรก ที่เป็นสื่อกลางในเส้นทางการถ่ายโอนอิเล็กตรอนของการสังเคราะห์แสดงในพืช
Carotenoid (µg/g)
สารประกอบอินทรีย์สีเหลือง ส้มและแดงที่ผลิตโดยพืชและสาหร่าย รวมถึงแบคทีเรีย เห็ดรา และสัตว์บางชนิด หน้าที่หลักของแคโรทีนอยด์ในพืช ได้แก่ ดูดกลืนแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง และป้องกันคลอโรฟิลล์จากการถูกทำลายจากแสงที่มีความเข้มสูง
TOM (%)
Total organic matter (TOM) ปริมาณอินทรียวัตถุทั้งหมดในดินตะกอน
TOC (%)
Total organic Carbon (TOC) ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดที่สามารถออกซิไดซ์เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำ โดยน้ำที่มีปริมาณสารอินทรีย์มากจะส่งผลให้มีการย่อยสลายและลดปริมาณออกซิเจนละลายน้ำลง ซึ่งจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
NO₃ - Nitrogen (µg/L)
ไนเตรท-ไนโตรเจน เป็นสารประกอบที่เปลี่ยนรูปมาจากแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในแหล่งน้ำ โดยแบคทีเรียกลุ่ม autotrophic nitrifying ซึ่งแหล่งน้ำที่มีความสกปรกสูงและมีการปนเปื้อนอย่างสม่ำเสมอมักตรวจพบไนเตรท-ไนโตรเจนในปริมาณสูง แหล่งน้ำที่ตรวจพบปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจนสูงย่อมแสดงว่ามีการปนเปื้อนจากของเสียหรือสิ่งสกปรกจากชุมชน หรือมีการชะล้างหน้าดินในพื้นที่เกษตรกรรมในปริมาณสูง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการนำน้ำมาใช้ในการบริโภคหรือการผลิตน้ำประปา ทำให้เกิดโรคระบบโลหิต เรียกว่า Methemoglobinemia
PO₄³⁻-P (µg/L)
Orthophosphate หรือ ฟอสฟอรัสละลายน้ำ (Soluble Reactive Phosphorus) เป็นสารประกอบฟอสฟอรัสที่ละลายได้ดีน้ำ จัดเป็นแหล่งฟอสฟอรัสที่มีความสำคัญต่อแพลงก์ตอนพืชสำหรับนำไปใช้
Astaxanthin (µg/g)
สารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) พบในอาหารและพืชที่มีสีแดง เช่น ปลาแซลมอน ไข่ของสัตว์ทะเล สาหร่ายสีแดง หรือกุ้ง มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ
β-cryptoxanthin (µg/g)
สารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ละลายได้เล็กน้อยในเอทานอล ละลายได้ดีในคลอโรฟอร์มและเบนซีน เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (provitamin A)
Lutein (µg/g)
สารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ไม่ละลายน้ำ สามารถสังเคราะห์ได้ในพืชโดยมีสารตั้งต้นมาจาก เดลตา-แคโรทีน โดยพืชใช้ลูทีนในการปรับกลไกการรับแสงระหว่างการสังเคราะห์แสง
Zeaxanthin (µg/g)
สารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) พบมากที่ใบพืชโดยทำหน้าที่ปรับพลังงานแสงและเป็นสารระงับพลังงานส่วนเกินจากการสังเคราะห์ด้วยแสง (non-photochemical quenching)
Canthaxanthin (µg/g)
สารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ละลายได้ในน้ำมัน พบอยู่ในสัตว์ที่มีกระดอง เช่น กุ้ง ปู และปลาแซลมอน เป็นต้น
β-carotene (µg/g)
สารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นรงควัตถุ (pigment) ที่มีสีส้ม เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (provitamin A)